Exclusing Offer For Thai Residents

Blog

Nov 28 2019

การใช้สารสกัด Curcumin กับอาการปวดข้อ


Curcumin

การใช้สารสกัด Curcumin กับอาการปวดข้อ

อาการปวดตามข้อไม่ใช่เรื่องสนุกเลย เพราะอาการปวดเหล่านี้อาจทำให้การใช้ชีวิตประจำวันนั้นลำบากมากขึ้น ส่งผลให้สุขภาพจิตแย่ลง การทานยาปฏิชีวนะก็ถือเป็นทานเลือกที่ช่วยบรรเทาอาการปวดแต่อาจจะไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุด วันนี้ MikaNutra จะมานำเสนอให้ทุกคนได้รู้เกี่ยวกับอาการปวดข้อและการใช้เคอร์คิวมินเพื่อลดอาการปวดค่ะ

อาการปวดข้อ คืออะไร

อาการปวดข้อ เป็นอาการที่หลายๆคนเคยเป็น โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ในขณะเรามีอาการปวดตามข้อต่างๆเกิดขึ้น มันจะสร้างความเจ็บปวดและความลำบากในการใช้ชีวิตแก่เราเป็นอย่างมาก ในทางการแพทย์นั้นจะเรียกรวมอาการกลุ่มนี้ว่า Rheumatism (โรครูห์มาติสซั่ม) ซึ่งหมายถึงโรคที่เกี่ยวกับข้อต่อ, อาการอักเสบของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันต่างๆ ที่ทำให้เกิดอาการเจ็บ, ปวดเมื่อย, ปวดล้าข้อต่อหรือเส้นเอ็นกล้ามเนื้อหรือกระดูกต่างๆ เช่น โรคข้อเสื่อม, ข้ออักเสบ, รูมาตอยด์, เอ็นอักเสบ รวมถึงกระดูกพรุน โรคกลุ่มนี้จัดอยู่ในกลุ่มแพ้ภูมิคุ้มกันตนเอง และรวมถึงการเสื่อมสภาพของเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนรอบๆข้อต่างๆ ตามอายุ ก่อให้เกิดอาการอักเสบของกระดูกและข้อและทำให้แสดงอาการปวดขึ้นมา และกลุ่มโรคเหล่านี้มักเกิดขึ้นกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

การรักษาอาการปวดข้อในปัจจุบัน

หากใครมีอาการปวดข้อไม่มากนัก เราอาจบรรเทาด้วยการประคบร้อนหรือประคบเย็น ซึ่งช่วยทำให้การอับเสบทุเลาลงได้ภายใน 2-3วัน แต่หลายๆคนจะเลือกวิธีการทานยาแผนปัจจุบัน ซึ่งการรักษาอาการปวดข้อในปัจจุบันนี้ จะเป็นรับประทานยาเพื่อการลดอาการอับเสบบริเวณข้อ ยาแผนปัจจุบันที่ช่วยบรรเทาอาการปวดข้อจะเป็นยากลุ่มยาระงับปวด (analgesics), สเตียรอยด์ (steroids) และยากลุ่ม NSAIDs (nonsteroidal anti-inflammatory drugs) หรือที่คนไทยนิยมเรียกว่ายากลุ่มเอนเสด หรือยาชุด

ยากลุ่ม NSAIDsนี้ จะออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์สารที่ทำให้เกิดกระบวนการอักเสบ นั่นคือเอนไซม์ cyclooxygenase (COX) เช่น prostaglandin และ thromboxane ทำให้อาการปวดทุเลาลงได้ แต่ไม่แนะนำให้ทานยากลุ่มนี้เป็นเวลาต่อเนื่องนานๆเนื่องจากยากลุ่มนี้มีผลข้างเคียง เช่น มีผลต่อระบบไต จนอาจทำให้ไตวาย, ระคายเคืองกระเพาะอาหารและผลต่อระบบหัวใจหรือความดันโลหิตในอนาคตได้อีกด้วย การฉีดยาเข้าที่ข้อหรือเส้นเอ็นก็เป็นวิธีที่ทำให้หายปวดได้เร็วทันใจ แต่ต่อผลเสียระยะยาวมากกว่าการทานยาเสียอีก เพราะสารที่ฉีดเข้าไปนั้นเป็นสารกลุ่มสเตียรอยด์ ซึ่งทำให้กระดูกอ่อนเสื่อมเร็วขึ้น เอ็นเปื่อย และเสี่ยงต่อการเอ็นร้อยหวายขายจนถึงขั้นพิการได้ ดังนั้นการใช้สารสกัดจากธรรมชาติเช่นสมุนไพรที่มีคุณสมบัติด้านการต้านอาการอักเสบจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกเพื่อลดความเสี่ยงและอาการข้างเคียงเหล่านี้ได้

ทำไมต้อง Curcumin

Phytotherapy หรือการบำบัดด้วยพืชสมุนไพรกำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน เนื่องจากสารสังเคราะห์จากการผลิตยาบางชนิด อาจส่งผลข้างเคียงต่อร่างกายในระยะยาว ดังนั้นการทานสมุนไพรที่มีฤทธิ์ทางยาจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคนในยุคปัจจุบัน

ขมิ้นชัน (Turmeric) เป็นสมุนไพรที่มีสีเหลือง มีกลิ่นเฉพาะ เป็นสมุนไพรอีกหนึ่งชนิดที่ได้รับความนิยมในชาวเอเชีย โดยนำมาประกอบอาหาร เช่น แกงกะหรี่, แกงเหลืองหรือข้าวหมกไก่และใช้เป็นยารักษาโรคที่มีตำรามาเนิ่นนาน ในเมืองไทยก็ได้รับความนิยมเช่นกัน จนเรียกว่ามีติดกันแทบทุกบ้าน

Curcumin (เคอร์คูมิน) เป็นสารสำคัญที่มีอยู่ในขมิ้นชัน โดยมักสกัดมาจากส่วนเหง้าที่มีสีเหลืองอ่อนถึงเหลืองเข้มของขมิ้นชัน สมุนไพรขมิ้นชันได้รับการบรรจุเป็นสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ เพื่อใช้รักษาอาการในระบบทางเดินอาหาร, ช่วยขับลม, บรรเทาอาการแน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ และในปัจจุบันมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันว่า Curcumin สามารถบรรเทาอาการข้อเสื่อมและอาการปวดข้อได้ เนื่องจากสาร Curcumin มีฤทธิ์ทางยาในด้านการต้านอาการอักเสบ Curcumin มีสารสำคัญที่ช่วยยับยั้งการสังเคราะห์สารกลุ่ม COX และเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการอักเสบ ซึ่งสามารถทำให้ช่วยลดอาการปวดข้อได้ และในงานวิจัยหลายๆชิ้นยังยืนยันว่าได้ผลดีกว่าการใช้แผนปัจจุบันอีกด้วย

มีงานวิจัยรองรับ

ในปัจจุบันเทคโนโลยีและความสามารถในด้านงานวิจัยที่สูงขึ้น จึงมีนักวิจัยมากมายได้ศึกษาคุณสมบัติและฤทธิ์ทางยาของสารสกัด Curcumin รวมถึงการทดลองใช้สารสกัดในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการปวดข้อ จึงทำให้เรามีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถยืนยันได้ว่าสารสกัด Curcumin สามารถนำมาใช้เป็นยารักษาผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมหรือผู้ป่วยที่มีอาการปวดข้อได้
ในปี 2015 นักวิจัยจากอินเดีย ได้ร่วมศึกษาคุณสมบัติของสารสกัด Curcumin โดยรีวิวงานวิจัยเกี่ยวกับสารสกัด Curcumin ตั้งแต่ปี 1966 ถึง 2016 และพบว่า Curcumin มีผลช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด, มีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ (Anti-oxidant) สูง, มีฤทธิ์ยับยั้ง

อาการอักเสบและสมบัติต้านเซลล์มะเร็ง

นักวิจัยชาวอินเดียได้ทดลองให้ผู้ป่วยที่มีอาการข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) จำนวน 45 คนทดลองทานสารสกัด Curcumin 500 มิลลิกรัม เทียบกับยาแผนปัจจุบันนั่นคือ Diclofenac sodium 50 มิลลิกรัม และทดสอบอาการเจ็บปวดข้อโดยวิธี Disease Activity Score (DAS) พบว่ากลุ่มที่ทานสารสกัด curcumin มีอาการปวดข้อลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งได้ผลดีกว่ายาแผนปัจจุบันที่เป็นกลุ่ม NSAIDs
และในปี 2016 นักวิจัยชาวสหรัฐอเมริกาและเกาหลีไต้ได้ศึกษาผลของการใช้สารสกัด Curcumin โดยทดลองใช้สารสกัด Curcumin ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการปวดข้อ ผู้เข้าร่วมการทดลองจะทาน Curcumin ปริมาณ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 8-12 สัปดาห์ และพบว่ากลุ่มผู้ที่ทาน Curcumin อาการอักเสบบริเวณข้อดีขึ้น รวมถึงผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมเช่นกัน นอกจากนี้ยังพบว่าให้ผลการรักษาดีกว่ากลุ่มที่ทานยากลุ่ม NSAIDs เช่น Ibuprofen และ Diclofenac ด้วย ในงานวิจัยนี้ผู้เขียนแนะนำว่าให้ใช้สารสกัด Curcumin เป็นอาหารเสริมร่วมกับยาแผนปัจจุบัน เนื่องจากกลุ่มผู้ทดลองยังไม่เพียงพอต่อการสรุปผลและต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมในด้านอื่นๆอีก

ต่อมาในปี 2017 นักวิจัยก็ได้ทดลองสาร Curcumin ในผู้ป่วยกลุ่มที่มีปวดข้อ (Rheumatoid arthritis) จำนวน 36 คนโดยได้แบ่งผู้เข้าร่วมการทดลองเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ทาน Curcumin และอีกกลุ่มที่ทานยาหลอก (placebo) โดยกลุ่มที่ทาน Curcumin จะทาน Curcumin ปริมาณ 250 หรือ 500 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 90 วัน และทดสอบอาการของผู้ป่วย ผลการทดลองพบว่าผู้ที่ได้รับ Curcumin ทั้ง 2 ระดับมีอาการปวดข้อดีขึ้นกว่ากลุ่มที่ทานยาหลอก ดังนั้นเราจะสามารถสรุปได้ว่าการทานสารสกัด Curcumin ปริมาณเพียง 250 มิลลิกรัมก็เพียงพอต่อการบรรเทาอาการปวดข้อ และจากการศึกษายังพบว่าสารสกัด Curcumin ไม่มีผลข้างเคียงต่อร่างกายอีกด้วย

และล่าสุดในปี 2018 นักวิจัยในประเทศจีนได้ศึกษาผลของการใช้สารสกัด Curcumin ในหนูทดลองที่มีอาการปวดข้อ และพบว่าอาการข้ออักเสบที่ลดลงและอาการผิวแดงที่เป็นสิ่งบ่งชี้อาการอักเสบก็ลดลงเช่นกัน ซึ่งเกิดจากการที่สาร Curcumin ไปยับยั้งสัญญาณประสาทในร่างกายที่เรียกว่า mTOR pathway

ในประเทศไทยก็ได้มุ่งเน้นศึกษาคุณสมบัติของสารสกัด Curcumin เช่นเดียวกัน โดยองค์การเภสัชกรรมได้ศึกษาและได้ผลการวิจัยของสารสกัด Curcumin ไปในทิศทางเดียวกันกับผลการการวิจัยข้างต้นคือการทานสารสกัด Curcumin ปริมาณ 400 มิลลิกรัม จำนวน 3 ครั้งต่อวัน มีผลให้การทำงานของข้อเข่าดีขึ้น ลดอาการปวดจากโรคข้อเข่าเสื่อมได้ดี และมีผลไม่แตกต่างจากยา Ibuprofen ด้วย จึงได้นำสารสกัดขมิ้นชันหรือ Curcumin นี้ขึ้นทะเบียนเป็นยาแผนปัจจุบัน ซึ่งหมายถึงว่าสามารถใช้แทนยาแผนปัจจุบันได้เลย โดยไม่มีผลข้างเคียงต่อกระเพาะอาหารอีกด้วย

การทาน Curcumin

เราสามารถทาน Curcumin ได้จากการทานขมิ้นชันโดยตรง นำมาชงเป็นชาขมิ้น หรือการนำมาปรุงอาหาร เช่น ใช้ขมิ้นผงมาทำอาหารจำพวกแกงต่างๆ แต่ปริมาณในการได้รับสาร Curcumin จะน้อยมากจนอาจไม่เห็นผลต่อการบรรเทาอาการปวดข้อ เพราะเราจะได้สาร Curcumin เพียงประมาณ 2-9 % เท่านั้นเอง และการทานขมิ้นร่วมกับพริกไทยดำจะช่วยให้การดูดซึมสาร Curcumin เป็นไปได้ดีขึ้นมากขึ้นถึง 2,000%

การทานอาหารเสริมหรือสาร Curcumin ในรูปแบบของแคปซูลหรือเม็ดยาจึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำให้เราได้รับสารสำคัญอย่างครบถ้วน

โดยมูลนิธิโรคข้อ หรือ Arthritis Foundation แนะนำให้ทาน Curcumin 400 – 600 มิลลิกรัมเป็นเวลา 3 ครั้งต่อวัน สำหรับผู้ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม และทาน Curcumin 500 มิลลิกรัมเป็นเวลา 2 ครั้งต่อวัน สำหรับผู้ที่มีอาการข้ออักเสบ

การเลือกยี่ห้อของสารสกัดก็เป็นอีกส่วนสำคัญในการเลือกทานสารสกัด Curcumin โดยเฉพาะเราควรเลือกทานเฉพาะยี่ห้อที่มีการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และมีมาตรฐานในการผลิตสินค้าเพื่อให้แน่ใจว่าสารสกัดที่เราได้รับปลอดภัยและปราศจากสารตกค้างอื่นๆ เช่น โลหะหนัก จำพวกตะกั่ว ซึ่งมักพบในอาหารเสริมที่ไม่ถูกมาตรฐาน

อาการข้างเคียง

เนื่องจาก Curcumin เป็นสารสกัดจากธรรมชาติ ดังนั้นผลข้างเคียงจะค่อนข้างน้อย ในบางท่านที่มีอาการแพ้อาจมีอาการปวดท้องหรือปวดหัวได้ หรือหากทานในปริมาณมากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้, ท้องเสียหรืออาจมีผลต่อระบบเลือดได้

หญิงตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานอาหารเสริมหรือสารสกัด Curcumin เนื่องจากอาจไปรบกวนพัฒนาการของทารกในครรภ์ และผู้ที่ทานยาประจำอยู่แล้ว เช่น ยาสำหรับโรคเบาหวาน, ยาแก้อักเสบ, ยาลดคอเลสเตอรอล และยาเจือจางเลือด ควรได้รับคำแนะนำทางแพทย์ก่อนรับประทาน เนื่องจากสารสกัด Curcumin อาจมีผลรบกวนการทานยาดังกล่าวได้

สรุป

จากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์จากนักวิจัยมากมายรวมถึงงานวิจัยในประเทศไทยจะเห็นได้ว่าสารสกัด Curcumin มีฤทธิ์ช่วยบรรเทาและรักษาอาการปวดข้อ หรืออาการข้อเข่าเสื่อมได้ เทียบเคียงกับยาแผนปัจจุบัน และยังมีอาการข้างเคียงน้อยกว่า รวมถึงมีความปลอดภัยมากกว่าเมื่อใช้ในระยะยาว เนื่องจากสารสกัดขมิ้นชันมาจากธรรมชาติจึงทำให้ปลอดภัยกว่าการใช้ยาที่เป็นสารสังเคราะห์อีกด้วย นอกจากนี้สารสกัด Curcumin ยังลดอาการท้องอืด, แน่นท้อง ทำให้ผู้ที่ทาน Curcumin รู้สึกสบายตัวและไม่ปวดกระเพาะเหมือนยากลุ่ม NSAIDs ทั่วๆไป

ผู้ที่มีอาการปวดข้อแนะนำให้ออกกำลังเบาๆ ร่วมกับการทานยาหรือสารสกัด Curcumin เช่น การเล่นโยคะ เพื่อช่วยให้ข้อต่อต่างๆมีการขยับเขยื้อน, เพิ่มความยืดหยุ่น และช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อบริเวณข้อให้แข็งแรงมากขึ้นอีกด้วย หรือการทำกายภาพบำบัดจากนักกายภาพบำบัดโดยฉพาะอย่างต่อเนื่องจะช่วยลดอาการปวดข้อได้ดี หรือหากท่านเป็นผู้ที่มีน้ำหนักมากควรลดน้ำหนักเพื่อเป็นการลดภาระของข้อต่างๆให้รับน้ำหนักน้อยลง

References

Amalraj, A., Varma, K., Jacob, J., Divya, C., Kunnumakkara, A., Stohs, S., & Gopi, S. (2017). A Novel Highly Bioavailable Curcumin Formulation

Improves Symptoms and Diagnostic Indicators in Rheumatoid Arthritis Patients: A Randomized, Double-Blind, Placebo-Controlled, Two-Dose, Three-Arm, and Parallel-Group Study. Journal Of Medicinal Food, 20(10), 1022-1030. doi: 10.1089/jmf.2017.3930

Dai, Q., Zhou, D., Xu, L., & Song, X. (2018). Curcumin alleviates rheumatoid arthritis-induced inflammation and synovial hyperplasia by targeting mTOR pathway in rats. Drug Design, Development And Therapy, Volume 12, 4095-4105. doi: 10.2147/dddt.s175763

Daily, J., Yang, M., & Park, S. (2019). Efficacy of Turmeric Extracts and Curcumin for Alleviating the Symptoms of Joint Arthritis: A Systematic Review and Meta-Analysis of Randomized Clinical Trials. Retrieved 28 September 2019, from

Ghosh, S., Banerjee, S., & Sil, P. (2015). The beneficial role of curcumin on inflammation, diabetes and neurodegenerative disease: A recent update.

Food And Chemical Toxicology, 83, 111-124. doi: 10.1016/j.fct.2015.05.022
nokdee, c. (2017).

ขมิ้นชัน ขึ้นทะเบียนยาแผนปัจจุบัน – Thaihealth.or.th | สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). Retrieved 28 September 2019

Turmeric for Arthritis | Curcuma | Curcuma longa | Cur¬cuma domestica. (2019). Retrieved 28 September 2019,
Turmeric for Rheumatoid Arthritis: Benefits and Side Effects. (2019). Retrieved 28 September 2019

    Related Posts

    One thought on “การใช้สารสกัด Curcumin กับอาการปวดข้อ

    Leave a Reply

    Your email address will not be published. Required fields are marked *

    Scroll To Top