Exclusing Offer For Thai Residents

Blog

Mar 05 2020

ผิวสวยเปล่งประกายด้วย Coenzyme Q10


CoEnzyme Q10, Menopause

ผิวสวยเปล่งประกายด้วย Coenzyme Q10

หากพูดถึง Coenzyme Q10 หรือโคเอนไซม์คิวเทน คงเป็นหนึ่งชื่อที่เรารู้จักกันดี เพราะสารชนิดนี้มีประโยชน์ต่อสุขภาพของเราหลายด้าน ทั้งในด้านความสวยความงามและการบำรุงสุขภาพด้านอื่น ๆ นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในสารที่ผู้หญิงวัยทองหรือวัยหมดประจำเดือนต้องรู้จักอีกด้วย แล้วทำไม Coenzyme Q10 จึงสำคัญสำหรับผู้หญิง? แล้วทำไม Coenzyme Q10 ถึงดีต่อผิว วันนี้เราจะเรียนรู้ไปพร้อมกันกับ MikaNutra ค่ะ

Coenzyme Q10 คืออะไร?

Coenzyme Q10 เป็นสารคล้ายวิตามิน (Vitamin-like) พบได้ทั่วไปในเซลล์ร่างกายมนุษย์ โดย Coenzyme Q10 ถ้าอยู่ภายในส่วนของเซลล์ที่เรียกว่า Mitochondria จะรับหน้าที่สร้างพลังงานให้เซลล์ ทำหน้าที่เป็นตัวขนส่งอิเล็คตรอนภายในเซลล์ให้เซลล์ส่วนต่างๆทำงานเป็นปกติ และหาก Coenzyme Q10 อยู่นอกเซลล์ก็จะมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ชั้นเยี่ยมและยังทำงานร่วมกับสารต้านอนุมูลตัวอื่นๆได้ดี เช่น Vitamin E เป็นต้น

Coenzyme Q10 สามารถพบได้ทั่วไปในอาหารตามธรรมชาติ เช่น เนื้อสัตว์, ไข่ได้, เครื่องในสัตว์, รำข้าว, ซีเรียว, น้ำมันปลา หรือปลาทะเลต่างๆ และในปัจจุบันหลายๆคนคงเคยได้ยินชื่อ Coenzyme Q10 ได้ในผลิตภัณฑ์อาหารเสริม เพราะ Coenzyme Q10 ได้รับความนิยมทางการแพทย์มากขึ้นทั้งด้านช่วยบำรุงผิวให้อ่อนกว่าวัย, ช่วยบำรุงหัวใจและยังช่วยบำรุงสมองได้

ประโยชน์ของ Coenzyme Q10

1. ช่วยบำรุงผิวพรรณ

เนื่องจาก Coenzyme Q10 มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีที่สุดตัวหนึ่ง โดยปกติแล้ว Coenzyme Q10 จะเข้าไปช่วยสมดุลของปริมาณอนุมูลอิสระ (Free-radicle) ส่วนเกินในเซลล์ร่างกาย ช่วยลดการเสื่อมสภาพของเซลล์ผิวหนัง ชะลอการเกิดริ้วรอยลงได้ แต่โดยปกติร่างกายจะผลิต Coenzyme Q10 น้อยลงเมื่อเราอายุเกิน 20 ปีเป็นต้นไป นอกจากนี้ Coenzyme Q10 ยังช่วยปกป้อวผิวจากรังสียูวีในแสงแดดซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ผิวแก่กว่าวัยได้อีกด้วย การทาน Coenzyme Q10 ทั้งในอาหารทั่วไปและในผลิตภัณฑ์อาหารเสริมจึงช่วยเสริมปริมาณ Coenzyme Q10 ได้และช่วยบำรุงผิวได้

จากการทดลองของนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นพบว่าเมื่อผู้หญิงอายุเฉลี่ย 43 (± 3ปี) ทดลองทาน Coenzyme Q10 ปริมาณ 60 มิลลิกรัมต่อวัน พบว่าเมื่อทานต่อเนื่อง 2 สัปดาห์ ผู้เข้าร่วมทดลองมีริ้วรอยบริเวณรอบดวงตาลดลงประมาณ 33% และตื้นขึ้นเฉลี่ย 38% การทดลองอีกชิ้นก็พบว่าเมื่อผู้ทดลองทาน Coenzyme Q10 ปริมาณ 50 และ 50 มิลลิกรัมต่อเนื่อง 12 สัปดาห์ จะช่วยลดการริ้วรอยขนาดเล็กและลดการเสื่อมสภาพของผิวอาสาสมัครลงได้

2. ช่วยบำรุงหัวใจ

งานวิจัยหนึ่งพบว่าผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจล้มเหลว มักมีสาร Coenzyme Q10 ต่ำ จากนั้นจึงมีการศึกษาผลของ Coenzyme Q10 ต่อผลของการทำงานของหัวใจ จึงทำให้ในปัจจุบันคุณหมออาจแนะนำให้ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจบำรุงด้วย Coenzyme Q10 และผลการศึกษายังพบว่าหากทาน Coenzyme Q10 ต่อเนื่องในระยะยาวจะช่วยทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้นและลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจอีกด้วย โดยCoenzyme Q10 ทำ 3 หน้าที่หลักต่อหัวใจคือ

  • ลดการถูกทำลายของเซลล์จากอนุมูลอิสระ เพราะในหลอดเลือดของเราสามารถเกิดการเสื่อมสภาพได้ สาร Coenzyme Q10 ที่มีสมบัติต้านอนุมูลอิสระจะทำหน้าที่ช่วยลดการถูกทำลายของหลอดเลือดดังกล่าว
  • Coenzyme Q10 ช่วยเสริมพลังงานให้การเต้นของหัวใจ โดยเพิ่มการสร้างสาร ATP ที่เป็นแหล่งพลังงานของทุกเซลล์ในร่างกาย
  • Coenzyme Q10 ช่วยสมดุลช่องไอออนในกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้การผลิต ATP เป็นไปได้ดีขึ้น

การวิจัยหนึ่งทดลองให้คนไข้โรคหัวใจล้มเหลว ทั้งเพศชายและเพศหญิงจำนวนประมาณ 640 คน อายุเฉลี่ย 67 ปีทาน Coenzyme Q10 ปริมาณ 2 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม เป็นเวลาต่อเนื่อง 1 ปี พบว่าคนไข้กลุ่มนี้มีอาการของโรคหัวใจน้อยลง และความถี่พบแพทย์น้อยลงอีกด้วย

3. ช่วยบำรุงสมอง

Coenzyme Q10 มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และมีสมบัติช่วยเสริมพลังงานให้เซลล์ จึงช่วยกระตุ้นสมองให้ทำงานดีขึ้น และทำให้สุขภาพสมองดีขึ้น และเพราะสมองของเรามีไขมันเป็นส่วนประกอบหลักรองจากน้ำ การที่สมองถูกทำลายหรือเสื่อมลงนั้น ส่วนหนึ่งมาจากการการออกซิเดชั่น (Oxidation) ของไขมันในสมอง ซึ่ง Coenzyme Q10 นี้สามารถชะลอการออกซิเดชั่นของไขมันในสมองของเราได้ และยังลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์และโรคพาร์กินสันซึ่งเป็นโรคที่เกิดการที่เซลล์สมองเสื่อมสภาพอีกด้วย

4. ช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง

การศึกษาพบว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งมีปริมาณ Coenzyme Q10 เฉลี่ยน้อยกว่าคนสุขภาพดีทั่วไป และการที่มีร่างกายมีปริมาณ Coenzyme Q10ต่ำ สัมพันธ์ต่ออัตราการเกิดโรคมะเร็งที่มากขึ้นถึง 53.3% เพราะCoenzyme Q10 เป็นสารที่มีสมบัติป้องกันเซลล์จากอนุมูลอิสระต่างๆและเสริมพลังงานในเซลล์ร่างกาย Coenzyme Q10 จึงช่วยดูแลเซลล์ให้สุขภาพดี มีสมดุลของอนุมูลอิสระที่ดี จึงลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งได้

ข้อควรระวัง

แนะนำให้บริโภค Coenzyme Q10 ในรูปที่อยู่ในอาหาร 30- 200 มิลลิกรัมต่อวัน เพราะ Coenzyme Q10 เป็นสารที่มีโครงสร้างโมเลกุลขนาดใหญ่ และเลือกทานอาหารเสริม Coenzyme Q10 ที่อยู่ในรูปของน้ำมัน เพราะ Coenzyme Q10 เป็นสารละลายได้ในไขมัน

ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือต่ำควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ก่อนทานอาหารเสริมที่มี Coenzyme Q10 เนื่องจาก Coenzyme Q10 อาจส่งผลการกระทบต่อความดันโลหิตได้ รวมถึงผู้ที่มีอาหารแพ้ยา, ตั้งครรภ์ หรือเป็นโรคหัวใจก็ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์เช่นกัน

การทาน Coenzyme Q10 อาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้เช่นกัน เช่น คลื่นไส้ อาเจียน หายใจลำบาก ผื่นคัน ท้องเสียหรือความดันโลหิตต่ำได้ หากมีอาการดังกล่าวแนะนำให้รีบพบแพทย์ทันที

อ้างอิง

Ashida, Yutaka & et.al,. (2004). Effect of CoQ10 as a supplement on wrinkle reduction. (Japanese). FOOD Style 21. 8. 52-54.

Folkers, K., Osterborg, A., Nylander, M., Morita, M., & Mellstedt, H. (1997). Activities of Vitamin Q10in Animal Models and a Serious Deficiency in Patients with Cancer. Biochemical And Biophysical Research Communications, 234(2), 296-299.

Hunter, D. (2003). Coenzyme Q10 in Early Parkinson Disease. Archives Of Neurology, 60(8), 1170.

Jafari, M., Mousavi, S., Asgharzadeh, A., & Yazdani, N. (2018). Coenzyme Q10 in the treatment of heart failure: A systematic review of systematic reviews. Indian Heart Journal, 70, S111-S117.

Machado, E., Ambrosano, L., Lage, R., Abdalla, B., & Costa, A. (2019). Nutraceuticals for Healthy Skin Aging. Retrieved 26 November 2019, from

Morisco, C., Trimarco, B., & Condorelli, M. (1993). Effect of coenzyme Q10 therapy in patients with congestive heart failure: a long-term multicenter randomized study. The Clinical Investigator, 71(S8).

Wadsworth, T., Bishop, J., Pappu, A., Woltjer, R., & Quinn, J. (2008). Evaluation of Coenzyme Q as an Antioxidant Strategy for Alzheimer’s Disease. Journal Of Alzheimer’s Disease, 14(2), 225-234.

Žmitek, K., Pogačnik, T., Mervic, L., Žmitek, J., & Pravst, I. (2016). The effect of dietary intake of coenzyme Q10 on skin parameters and condition: Results of a randomised, placebo-controlled, double-blind study. Biofactors, 43(1), 132-140.

    Related Posts

    Leave a Reply

    Your email address will not be published. Required fields are marked *

    Scroll To Top