Exclusing Offer For Thai Residents

Blog

Jun 13 2020

โปรตีนถั่วเหลือง ดีกว่าโปรตีนจากสัตว์จริงหรือ?


Menopause, โปรตีนถั่วเหลือง (Soy Protein)

โปรตีนถั่วเหลือง ดีกว่าโปรตีนจากสัตว์จริงหรือ?

โปรตีนถือเป็นสารอาหารที่ร่างกายต้องการในชีวิตประจำวันและเป็นสิ่งจำเป็นที่ร่างกายขาดไม่ได้ โปรตีนนั้นมาจากพืชและสัตว์ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับไลฟ์สไตล์และการเลือกรับประทานอาหารของแต่ละบุคคล การทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และให้ได้สารอาหารครบถ้วนสำหรับบางคนนั้นคงเป็นเรื่องยากอาจเพราะเลือกรับประทาน ทานอาหารในปริมาณที่น้อยไปหรือปัจจัยอื่นๆ ซึ่งทางแก้ก็มีอยู่หลายอย่างตั้งแต่รับประทานอาหารเสริม รวมถึงเลือกทานกลุ่มอาหารที่มีโปรตีนสูง วันนี้ MikaNutra จะพาทุกคนไปดูว่าโปรตีนจากถั่วเหลืองนั้นมีประโยชน์อย่างไร ดีกว่าเนื้อสัตว์และโปรตีนประเภทอื่นหรือไม่?

โปรตีนถั่วเหลืองดีกว่าโปรตีนจากสัตว์จริงหรือ?

โปรตีนจากถั่วเหลือง นับเป็นโปรตีนจากพืชชนิดหนึ่งที่ให้โปรตีนสูงและมีกรดอะมิโนจำเป็นครบทุกชนิด ซึ่งโปรตีนจากพืชและจากสัตว์มีความแตกต่างกันที่จำนวนกรดอะมิโน สำหรับถั่วเหลืองนั้นมีปริมาณกรดอะมิโนเท่ากันกับเนื้อสัตว์แต่ไม่มีไขมันและคอเลสเตอรอล ในขณะที่เนื้อสัตว์จะมีไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลสูง การรับประทานโปรตีนจากสัตว์จึงอาจจะไม่เหมาะกับผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง มีโรคร้ายแรงต่างๆ และมีน้ำหนักเกิน 

ถั่วเหลืองจัดเป็นพืชสำคัญและเก่าแก่ชนิดหนึ่งของโลกตามประวัติศาสตร์แล้วถั่วเหลืองมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนทางตอนกลางหรือทางเหนือ ซึ่งชาวจีนได้รู้จักการใช้ประโยชน์จากถั่วเหลืองและมีการปลูกถั่วเหลืองมายาวนานมากกว่า4,700 ปีแล้วซึ่งประโยชน์ของถั่วเหลืองมีมากมายหลายประการและยังถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆอย่างแพร่หลาย

โปรตีนจากถั่วเหลืองจะมีปริมาณแคลเซียมน้อยกว่าเนื้อสัตว์ แต่มีโปรตีนสูงกว่าถึง 35% ซึ่งส่งผลดีต่อผู้ที่กำลังลดน้ำหนัก นอกจากนี้บางงานวิจัยยังบอกอีกว่าการบริโภคโปรตีนจากถั่วเหลือง 25 กรัมต่อวันอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งและโรคหัวใจอีกด้วย

โปรตีนนั้นสามารถหาได้จากหลากหลายแหล่ง ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์ นม ไข่และถั่วต่างๆ อาหารแต่ละอย่างก็จะมีปริมาณโปรตีนและคุณค่าสารอาหารที่ต่างกันไป สำหรับโปรตีนจากเนื้อสัตว์นั้นจะมีไขมันอิ่มตัวมากกว่าโปรตีนจากพืช และมีคอเลสเตอรอลสูง แต่ก็ยังเป็นแหล่งอาหารที่ดีของธาตุสังกะสี ธาตุเหล็กและวิตามินบี 12 อีกด้วย

สำหรับโปรตีนจากถั่วเหลืองนอกจากจะมีปริมาณโปรตีนสูงแล้ว การกินถั่วเหลืองทั้งเมล็ดยังจะช่วยให้ได้สารอาหารจำพวกไฟโตเอสโตรเจน โฟเลต แคลเซียม ไขมันดี และกากใยอาหารมาก นับว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่มองหาแหล่งโปรตีนเพิ่มเติมนอกจากเนื้อสัตว์จะเห็นได้ว่าการเลือกกินโปรตีนจากแหล่งต่างๆ นั้น ก็จะมีข้อดีข้อเสียต่างกันไปดังนั้นขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของคุณว่าจะรับประทานโปรตีนประเภทไหน

โปรตีนและสุขภาพของเรา

การบริโภคโปรตีนนั้นควรอยู่ในปริมาณที่พอดี ไม่ควรรับประทานมากหรือน้อยเกินไปเพราะอาจทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพได้ หากอยากรู้ว่าเรารับประทานโปรตีนเพียงพอหรือไม่ก็ให้เริ่มจากการสังเกตร่างกายตัวเองและไลฟ์สไตล์ก่อน หากร่างกายขาดโปรตีนจะเสียมวลกล้ามเนื้อ มีปัญหาที่ผิวหนัง เส้นผมและเล็บ นอกจากนี้ยังมีอาการทางด้านระบบภูมิคุ้มกันคือแผลหายช้าและป่วยง่ายอีกด้วย

อาหารที่มีโปรตีน ได้แก่ ถั่วเมล็ดแห้ง ถั่วต่าง ๆ ข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด เต้าหู้ นมถั่วเหลือง ธัญพืช เนยถั่ว นม ไข่ โยเกิร์ต เห็ด ต้นอ่อนผัก เป็นต้น สำหรับคนทั่วไป ควรรับประทานโปรตีนโดยคำนวณตามน้ำหนักตัว เช่น โปรตีนหนึ่งกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมสำหรับน้ำหนักมาตรฐาน แต่หากเป็นผู้มีน้ำหนักเกินก็ไม่ควรคำนวณจากน้ำหนักจริง สำหรับผู้สูงอายุมักจะมีแนวโน้มในการขาดโปรตีนสูง ดังนั้นหากอายุมากขึ้นก็ควรรับประทานโปรตีนให้เหมาะสม โดยเลือกบริโภคโปรตีนที่สามารถย่อยและดูดซึมได้ง่าย เช่น ปลา เป็นต้น

หากคุณต้องการจะสร้างกล้ามเนื้อและออกกำลังกายอย่างหนักก็ควรจะรับประทานโปรตีนมากกว่าปกติ ประมาณ 1.5-2 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แต่ก็ไม่ควรกินมากเกินความต้องการ นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคไตก็ควรควบคุมปริมาณการบริโภคโปรตีน เน้นรับประทานโปรตีนที่มีคุณภาพดี เช่น ไข่ขาว ปลา และเนื้อไม่ติดมัน

การรับประทานโปรตีนไม่เพียงพอส่งผลให้กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง รวมไปถึงระบบการทำงานภายในร่างกายไม่สมบูรณ์ รวมไปถึงการรับประทานโปรตีนมากเกินไป อาจเพิ่มการทำงานของตับ ไตในการกำจัดโปรตีนส่วนเกิน เกิดภาวะไม่สมดุลของกรด-ด่างในร่างกาย ร่างกายจะพยายามรักษาสมดุลโดยการดึงแคลเซียมมาใช้มากกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดภาวะขาดแคลเซียม ภาวะกระดูกพรุนได้ นอกจากการขับโปรตีนส่วนเกินออกทางปัสสาวะแล้ว ร่างกายยังสามารถสะสมโปรตีนส่วนเกินในรูปของไขมันได้อีกด้วย

โปรตีนจากพืชและไฟโตเอสโตรเจน

ไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogen) เป็นสารที่พบในพืช ไฟโตเอสโตรเจนมีส่วนโครงสร้างบางส่วนคล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่พบในร่างกาย สารนี้จึงสามารถจับกับเอสโตรเจนรีเซปเตอร์และทำให้เกิดผลคล้ายกับเอสโตรเจนได้ จากการศึกษาพบว่า ไฟโตเอสโตรเจนเป็นสารที่มีคุณสมบัติคล้ายเอสโตรเจนในมนุษย์ ซึ่งมีฤทธิ์เอสโตรเจนอ่อนๆ ไฟโตเอสโตรเจนถูกแบ่งออกเป็นหลายกลุ่มตามโครงสร้างทางเคมี โดยสารกลุ่มที่มีระดับเอสโตรเจนมากที่สุดพบมากในผัก ผลไม้และธัญพืช

ถั่วเหลืองประกอบด้วยกลุ่มสารประกอบสำคัญที่เรียกว่า ไอโซฟลาโวน (Isoflavones) จัดเป็น ฮอร์โมนเอสโตรเจนจากพืช (Phytoestrogen) ผลิตภัณฑ์อาหารจากถั่วเหลืองที่เป็นรูปแบบของแข็งมักจะมีปริมาณไอโซฟลาโวนสูงกว่าผลิตภัณฑ์ที่เป็นของเหลว เช่น แป้งถั่วเหลืองจะมีปริมาณไอโซฟลาโวนสูงกว่าน้ำถั่วเหลือง ปริมาณไอโซฟลาโวนที่แนะนำคือ 50-100 มิลลิกรัมต่อวัน หากคิดแบบคร่าวๆ เทียบเท่ากับ น้ำถั่วเหลือง 2 –4 แก้วหรือเต้าหู้ 2 –4 ก้อน โดยอาหารที่มีไอโซฟลาโวนในปริมาณมากเช่น ฟองเต้าหู้ดิบ แป้งถั่วเหลือง ถั่วเหลืองสีเขียวที่แก่จัด หรือโปรตีนถั่วเหลืองเข้มข้น

สำหรับโปรตีนที่มากับพืช ส่วนใหญ่จะไม่ได้มาพร้อมกับกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายอย่างครบถ้วนเท่าเนื้อสัตว์ มีเพียงถั่วเหลืองที่ถือว่ามีโปรตีนสมบูรณ์ที่มาพร้อมกรดอะมิโนที่ร่างกายต้องการครบที่สุดในบรรดาพืชที่มีโปรตีนทั้งหมด นอกจากนี้การรับประทานพืชที่มีโปรตีนให้ได้ปริมาณที่เท่ากับการได้รับโปรตีนจากเนื้อสัตว์ จำเป็นจะต้องรับประทานโปรตีนจากพืชให้มากเพียงพอ ถึงจะทดแทนในส่วนของโปรตีนที่ต้องการได้รับในแต่ละวันได้

การรับประทานโปรตีนจากพืช ไม่ได้ส่งผลเสียใด ๆ ต่อร่างกาย เว้นแต่ว่าจะรับประทานโปรตีนไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ดังนั้นจึงควรรับประทานโปรตีนจากพืชให้มากเพียงพอ และเลือกรับประทานให้หลากหลาย เพื่อให้ได้คุณค่าทางสารอาหารอย่างหลากหลายไปด้วย

ประโยชน์ของโปรตีนถั่วเหลือง

เสริมสร้างกล้ามเนื้อ – โปรตีนจากถั่วเหลืองประกอบด้วยกรดอะมิโนจำเป็นซึ่งช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อรวมทั้งมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย

ปรับสมดุลฮอร์โมน – ช่วยบรรเทาอาการอันเนื่องมาจากภาวะหมดประจำเดือนในผู้หญิง เช่น อาการร้อนวูบวาบ อารมณ์แปรปรวน เหงื่อออกในเวลากลางคืน นอนหลับไม่สนิท ผิวพรรณและช่องคลอดแห้ง เป็นต้น

ป้องกันโรคกระดูกพรุน – ช่วยยับยั้งการสลายแคลเซียมออกจากกระดูก เพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก จึงช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน

บำรุงผิวพรรณ – อุดมไปด้วย Antioxidant ช่วยป้องกันความเสื่อมของเซลล์และอวัยวะต่างๆ ในร่างกายและมีคุณสมบัติเป็น Phytoestrogen ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน

ช่วยควบคุมน้ำหนัก โปรตีนจากถั่วเหลืองประกอบด้วยโปรตีนปริมาณสูง มีคาร์โบไฮเดรต คอเลสเตอรอล และน้ำตาลแลคโตสต่ำ จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการรับประทานเพื่อทดแทนมื้ออาหารในการควบคุมน้ำหนัก

ลดอัตราเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ข้อมูลจากองค์การอาหารและยา ประเทศสหรัฐอเมริกากล่าวว่าการได้รับโปรตีนถั่วเหลือง 25กรัมต่อวัน ร่วมกับอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลต่ำสามารถลดอัตราเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้

ป้องกันมะเร็ง –  มีคุณสมบัติเป็น Antioxidant ช่วยป้องกันความเสื่อมของเซลล์และอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย นอกจากนี้สาร Genistein ในถั่วเหลือง มีฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการสร้างเส้นเลือดใหม่และยับยั้งเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ทำให้เซลล์มะเร็งไม่เจริญเติบโต

ลดอาการของสตรีวัยทอง – ผู้หญิงในช่วงหมดประจำเดือน อาการที่น่ารำคาญที่สุด คือ อาการร้อนวูบวาบ Isoflavone จะช่วยลดอาการวัยทองได้ จากสถิติพบว่าผู้หญิงประเทศญี่ปุ่นที่ทานผลิตภัณฑ์จากถั่วมาก มีอัตราการเป็นโรคมะเร็งเต้านม, โรคเกี่ยวกับระบบหัวใจ (cardiovascular disease) และมีอาการวัยทองต่ำกว่าผู้หญิงในประเทศฝั่งตะวันตก และมีงานวิจัยมากมายที่พบว่า Isolated Soy Protein ช่วยเสริมฮอร์โมนให้ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนได้มากถึง 14% จากงานวิจัยทั้งหมด 19 ฉบับในปี 2012 พบว่าโปรตีนถั่วเหลืองช่วยลดอาการวูบวาบและช่วยอาการวัยทอง เช่น ร้อนๆหนาวๆ, อารมณ์เปลี่ยนแปลงเร็ว, ไม่มีสมาธิหรืออาการนอนไม่หลับ

ทดแทนโปรตีนจากสัตว์ : โปรตีนถั่วเหลืองถูกนำมาใช้ทดแทนโปรตีนจากสัตว์สำหรับผู้บริโภคกลุ่มที่ทานมังสวิรัติหรือผู้ที่แพ้โปรตีนจากนม เช่น นำโปรตีนถั่วเหลืองมาทำอาหารเจหรือโปรตีนเกษตร เป็นเนื้อสำหรับผู้ทานมังสวิรัติ หรือนำมาทำผงนมสำหรับเด็กที่แพ้นมวัวได้เพราะโปรตีนถั่วเหลืองมีกรดอะมิโนจำเป็นครบทุกชนิดตามที่องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกากำหนดไว้ และโปรตีนถั่วเหลืองยังมีคุณภาพของโปรตีนในระดับที่เทียบเท่ากับโปรตีนจากสัตว์ เช่น โปรตีนนมและโปรตีนไข่ขาว อีกทั้งยังมีระดับโปรตีนสูงที่สุดในกลุ่มพืชอีกด้วย

สุขภาพที่แข็งแรงและฮอร์โมนที่สมดุลคุณสร้างได้

การที่มีสุขภาพดีแข็งแรงนั้นถือเป็นลาภอันประเสริฐ ฮอร์โมนที่ไม่สมดุลอาจทำให้ผู้หญิงในทุกช่วงวัยรำคาญใจเพราะเป็นต้นเหตุของสิว น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น อารมณ์ที่เปลี่ยนไปและอื่นๆ อีกมากมาย ฉะนั้นการดูแลตัวเองและเลือกทานอาหารที่ช่วยบำรุงร่างกายคือสิ่งที่ผู้หญิงทุกคนควรจะทำ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในช่วงวัยทอง

แท้จริงแล้ววัยทองก็ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด เพียงแต่มีความเปลี่ยนแปลงมากมายที่เกิดขึ้นกับร่างกายเพิ่มขึ้นเท่านั้นเอง ฉะนั้นการดูแลเอาใจใส่ตัวเอง การเลือกอาหารเสริมเพื่อปรับสมดุลฮอร์โทนอาจเป็นทางเลือกที่ดี โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ MONO ก็เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่ผู้หญิงทุกคนควรลอง เพราะ MONO ได้รวบรวมสุดยอดสารสกัดธรรมชาติที่เหมาะกับผู้หญิงทุกวัย มีสารสกัดจากธรรมชาติ 9 ชนิด ที่มีคุณสมบัติคล้ายฮอร์โมนเพศหญิง ช่วยลดอาการวัยทอง ปรับสมดุลฮอร์โมนให้ผู้หญิงทุกช่วงวัย บำรุงเซลล์ผิวให้ดูอ่อนเยาว์ และมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

    Related Posts

    One thought on “โปรตีนถั่วเหลือง ดีกว่าโปรตีนจากสัตว์จริงหรือ?

    Leave a Reply

    Your email address will not be published. Required fields are marked *

    Scroll To Top